ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 73
อาจารย์เสนกะยังไม่หยุดอยู่เพียงเท่านั้น กลับพูดต่อไปด้วยสีหน้าเคร่งเครียดยิ่งขึ้นไปอีกว่า “เวลา นี้พวกเราน่ะ หากจะเปรียบกับวัตถุที่มีแสง ก็เป็นเพียงแสงของดวงดาว จริงอยู่เมื่อดวงอาทิตย์ลาลับไป ความมืดที่ปกคลุมม่านฟ้าก็พอทำให้แสงดาวแพรวพราวได้บ้าง แต่ในเวลาที่ดวงจันทร์ทอแสงนวลขึ้น ถึงเวลานั้น ใครเล่าจะเห็นความสุกสกาวของแสงดาว...
มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - อย่าอาฆาตกันเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าว่าแต่พระเจ้าสุปปพุทธะ จะขึ้นไปอยู่บนปราสาทชั้น ๗ และมีทหารกำยำล่ำสันเฝ้ารักษาประตูอยู่เช่นนี้เลย แม้จะมีฤทธิ์เหาะไปได้ในอากาศ หรือจะทรงหนีไปทางมหาสมุทร หรือจะทรงหนีเข้าไปในซอกเขา ก็จะต้องถูกแผ่นดินสูบที่เชิงบันไดของปราสาทนั่นแหละ เพราะถ้อยคำของตถาคตไม่เป็นสอง เรากล่าวอย่างไร ย่อมเป็นอย่างนั้น
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - สู่หนทางสวรรค์
ชีวิตของมนุษย์ในสมัยก่อนนั้นยาวนานมาก แม้กระนั้นผู้มีบุญก็ไม่ประมาทในชีวิต เพราะมองเห็นทุกข์ เห็นโทษของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่ปัจจุบันอายุของมนุษย์โดยเฉลี่ยเพียง ๗๕ ปีเท่านั้น ชีวิตจึงเป็นของน้อย เราไม่ควรประมาท เพราะความตายอาจพรากชีวิตเราได้ทุกขณะ เพียงแค่หายใจเข้าไม่หายใจออก หรือหายใจออกไม่หายใจเข้าก็ตายแล้ว
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - เวลาอันทรงคุณค่ายิ่ง
มีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่า “เอสุการี” พระองค์มีปุโรหิตเป็นสหายรักตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ทั้งพระราชาและปุโรหิตต่างไม่มีพระโอรสที่จะสืบสกุล วันหนึ่ง พระราชาและปุโรหิตปรึกษาหารือกันว่า ถ้าหากบุตรของใครเกิดก่อน บุตรของคนนั้นจะได้ครอบครองราชสมบัติ
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - มหาทาน คือ เสบียงสู่ความหลุดพ้น
วันหนึ่งพระเจ้าเภรุวมหาราชทอดพระเนตรโรงทานของพระองค์ ทรงดำริว่า ปฏิคาหก ผู้รับทานของเรานี้ ล้วนเป็นผู้ทุศีล บริโภคทานแล้วไม่ทำให้จิตใจของทายกยินดีเลย ทำอย่างไรหนอเราจึงจะได้เนื้อนาบุญ เราปรารถนาจะถวายทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้า
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาพิชิตปัญหา
พระโพธิสัตว์ได้ใช้สติปัญญา แก้ข้อครหาของอำมาตย์ทั้ง ๕ คน เช่น เรียกให้อุจเฉทวาทีอำมาตย์เข้ามา พลางกล่าวว่า "ท่าน กล่าวว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล และยังสำคัญว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมขาดสูญในโลกนี้เท่านั้น สัตว์ผู้ไปสู่ปรโลกไม่มีเลย แล้วมาหัวเราะเยาะเราทำไม"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สร้างผังรวยข้ามชาติ
วันหนึ่ง เธอได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเดินบิณฑบาตผ่านหน้าบ้าน บังเกิดความเลื่อมใส จึงรีบนำอาหารหวานคาวมาใส่บาตร ถวายดอกปทุมกำหนึ่ง พลางตั้งความปรารถนาว่า "ไม่ว่าจะเกิดไปกี่ภพกี่ชาติก็ตาม ขอให้เป็นที่รักของมหาชนเหมือนดอกปทุมนี้" ทั้งยังอธิษฐานเพิ่มเติมอีกว่า "การอยู่ในครรภ์มารดาเป็นสิ่งลำบาก ขอให้ได้เกิดในดอกปทุม ไม่ต้องไปอาศัยอยู่ในครรภ์มารดาอีก"
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ผู้เลิศทางมีลาภ ( ๒ )
ด้วยอานุภาพบุญของพระโอรสที่อยู่ในพระครรภ์ เมื่อข้าวกล้าออกรวง ปรากฏว่า ข้าวแต่ละต้นจะแตกงอกออกเป็นร้อยเป็นพันเมล็ด และเมื่อหว่านพันธุ์ข้าวลงในนา ๑ ไร่ จะได้ข้าว ถึง ๕๐ - ๖๐ เกวียน ขณะขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง ชาวเมืองต่างขอให้พระนางสุปปวาสาจับที่ประตูของยุ้งฉาง แม้ข้าวในยุ้งฉางจะถูกขนออกไปเท่าไร แต่ก็ไม่รู้จักหมดสิ้น
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - พุทธบูชาพาพ้นทุกข์
เมื่อใคร่ครวญสักครู่หนึ่ง ก็คิดได้ว่า การบูชาด้วยของหอม เป็นสิ่งที่ทุกคนกระทำกันดีอยู่แล้ว เราจะต้องทำให้ประณีตและแตกต่างออกไป จะเห็นว่านักสร้างบารมีในสมัยก่อน ในใจของเขา คิดเอาแต่บุญพิเศษ แสวงหาวิธีการที่จะเพิ่มเติมบุญให้กับตนเอง ท่านจึงรวบรวมของหอมจำนวนมาก มีจันทน์ กำยาน การบูร และกฤษณา เป็นต้น สร้างเป็นสถูปของหอมถวายพระบรมศาสดา
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 19
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ แม้ฤษีผู้เป็นบิดามารดาจะได้ดวงตาคืนมา มองเห็นเป็นปกติดังเดิมแล้ว แต่พระโพธิสัตว์ก็ยังคงปฏิบัติบำรุงบิดามารดาเหมือนดังเดิม มิให้ท่านทั้งสองต้องลำบากกายลำบากใจ