เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๗)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างที่เรารู้ไซร้ สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้แล้วจะไม่พึงบริโภค อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทินจะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างที่เรารู้ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงไม่ให้ แล้วบริโภคเสียเอง อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทินจึงยังครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๖)
ธรรมดาพวกมนุษย์ ย่อมไปสู่สำนักของพวกมนุษย์ พวกโคก็ไปสู่ฝูงโค บรรพชิตก็ไปสู่สำนักของบรรพชิต บัณฑิตก็เข้าไปหาพวกบัณฑิต
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๕)
ถ้าหากว่าสรรพสัตว์พึงรู้ผลแห่งการจำแนกทาน เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ตรัสแล้ว รู้โดยวิธีที่ผลนั้น เป็นผลใหญ่ไซร้ สัตว์ทั้งหลายพึงกำจัดความตระหนี่อันเป็นมลทินเสีย มีใจผ่องใส พึงให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๔)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถือประมาณบุญแห่งทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการอย่างนี้ว่า ห้วงแห่งบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ มีอารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้ บุญแห่งทักษิณาทานนั้น ย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงแห่งบุญกุศลที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญใหญ่
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๓)
ทาน ผู้ให้ให้ได้ยาก เพราะต้องครอบงำความตระหนี่ก่อนแล้วจึงให้ได้ การทำทานนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากโดยแท้ อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำทานตามที่สัตบุรุษทำแล้ว เพราะเหตุนั้น การไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษกับอสัตบุรุษจึงต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปนรก สัตบุรุษย่อมไปสวรรค์
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๒)
การให้ทาน เป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก การไม่ให้ทาน เป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๑)
บุญทั้งหลาย เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทั้งหลายในปรโลก
ธรรมะจากพระศิริชัย ทานวโร วัดพระธรรมกายมินเนโซตา
พระอาจารย์วัดพระธรรมกายมินเนโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เมตตาเทศน์สอนธรรมะปกิณกะธรรม ธรรมะสบายดี ผ่านการถ่ายทอดสด Facebooklive ของวัดพระธรรมกายมินเนโซตา
วิธีดูว่าวัดพระธรรมกายบิดเบือนคำสอนหรือเปล่า ?
ช่วงที่วัดเป็นข่าวก็มีกระแสโจมตีอย่างเอาเป็นเอาตายว่า วัดพระธรรมกายบิดเบือนคำสอน ซึ่งหากบิดเบือนจริงก็ดูได้ไม่ยากเลย แค่เอาเรื่องนั้นไปเปรียบเทียบกับพระไตรปิฎก เช่น วัดพระธรรมกายพูดถึงคำว่า “ดุสิตบุรี” ก็มีคนโจมตีและมีคนหลงเชื่อกันแบบไม่ลืมหูลืมตาว่า คำนี้ไม่มีในพระไตรปิฎกแต่พอมาค้นในพระไตรปิฎกจริง ๆ ปรากฏว่าคำว่า “ดุสิตบุรี” อยู่หลายแห่ง
มหาเศรษฐีในสมัยพุทธกาล